วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีสำหรับเลขานุการ

เทคโนโลยีสำหรับเลขานุการ
เทคโนโลยีสำหรับเลขานุการอาชีพนักเลขานุการ จำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ก้าวทันเทคโนโลยี โดยเฉพาะในสำนักงาน เลขานุการเปรียบเสมือนแม่บ้านสำนักงาน เป็นแขนขวาของเจ้านายและแม้แต่เป็นกระโถนท้องพระโรง เลขานุการจึงเป็นบุคคลสำคัญในงานความลับผู้บังคับบัญชาเป็นผู้นำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ โดยเฉพาะในยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร รวมถึงนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่กลายเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการปรับปรุงกระบวนการทำงานของเลขานุการด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับหลักการบริหารจัดการ (Management Function) ซึ่งได้แก่ การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การบังคับบัญชา (Leading) และการควบคุม (Controlling) ภายใต้การใช้ทักษะใน 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะมนุษยสัมพันธ์ (Human Skills) ทักษะความคิดรวบยอด (Conceptual Skills) และทักษะเทคนิคเฉพาะ (Technical Skills) ในการก่อให้เกิดประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดขององค์กร ที่เรียกว่า ผลิตภาพ (Productivity) นั่นเองเทคโนโลยีกับการประยุกต์ใช้ในงานเลขานุการสิ่งสำคัญต่อการปฏิบัติงานของเลขานุการ และการก้าวขึ้นบันไดสู่ความสำเร็จในงานอาชีพได้นั้น เลขานุการจะต้องรู้จักบริหารตนเอง โดยมีหลักสำคัญ 3 วิธี ได้แก่1. การทำความเข้าใจตนเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ ด้วยการฝึกตนให้เกิดการยอมรับ โดยใช้เครื่องมือในการประเมินค่าของตนเอง พร้อมทั้งหมั่นตรวจสอบตนเองเพื่อให้ก้าวร่วมไปกับยุคสมัยใหม่2. การบริหารงานให้เกิดผลิตภาพ เลขานุการจะต้องเป็นนักจัดการที่ดี ด้วยการใช้หลักการบริหารจัดการ (POLC) ซึ่ง ได้แก่ การรู้จักวางแผน (Planning) การประสานความร่วมมือตามลักษณะโครงสร้างองค์กร (Organizing) การมีลักษณะผู้นำ (Leading) และการรู้จักควบคุม (Controlling) เพื่อให้งานบรรลุสู่เป้าหมายด้วยการให้ความสำคัญต่อลูกค้า(Customer) ทั้งลูกค้าภายใน และลูกค้าภายนอก โดยเลขานุการสามารถลดต้นทุนให้กับองค์กรได้เพื่อให้องค์กรมีความได้เปรียบด้านต้นทุน และการที่ต้นทุนต่ำส่งผลให้องค์กรมีผลตอบแทนจากกำไรที่สูงขึ้นได้ เลขานุการจึงเป็นผู้หนึ่งที่ทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนได้จากงานที่ปฏิบัติเช่น การรู้จักประหยัดพลังงานในสำนักงาน เป็นต้น3. การปฏิบัติงานให้เกิดคุณภาพ เป็นการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ด้วยการจัดระบบงานสำนักงานโดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมมาใช้ในการดำเนินงานตามกรอบระบบงาน (Frame Work System) ทั้งนี้ เลขานุการจะต้องยึดแนวทางในการปฏิบัติงานของเลขานุการเพื่อให้เกิดคุณภาพภายใต้จรรยาบรรณต่องานอาชีพลักษณะงานของเลขานุการตามภาระงานที่ต้องปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ได้แก่การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา การรับ และส่งหนังสือ การบันทึก และการจัดทำรายงานต่าง ๆ การจัดเก็บเอกสาร การต้อนรับและการดูแลให้ความสะดวกในด้านต่าง ๆ การรับโทรศัพท์โทรสาร และการรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินงาน ประชุม อบรม สัมมนา การนัดหมายการเตรียมการเดินทางของผู้บังคับบัญชา การจัดเตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ และวัสดุสำนักงานการจัดการเงินของสำนักงาน และการเป็นผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมการใช้วงจรการพัฒนาระบบงานเลขานุการด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล พร้อมทั้งก่อให้เกิดคุณภาพองค์ประกอบของวงจรการพัฒนาระบบงานเลขานุการด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันใน 3 ส่วน ได้แก่ งานในหน้าที่เลขานุการ วิธีการปฏิบัติงานของเลขานุการ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ปฏิบัติงานโดยวงจรการพัฒนาจะช่วยให้เลขานุการได้ทำการทบทวนการปฏิบัติงาน เพื่อนำผลไปสู่การปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาให้เกิดคุณภาพของงานอย่างต่อเนื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานเลขานุการ ด้วยการมองย้อนกลับ(Feedback) เพื่อหาความบกพร่อง จุดหรือประเด็นปัญหา อุปสรรค และจุดอ่อน โดยทั่วไปแล้วเลขานุการจะใช้เทคนิคเฉพาะบุคคลในการแก้ปัญหา โดยอาจจะบอกไม่ได้ว่า วิธีใดดีที่สุด หากแต่ขึ้นอยู่กับความสามารถของเลขานุการภายใต้สภาพการณ์จากสภาพแวดล้อมที่มากระทบ รวมถึงจังหวะ โอกาส เวลา สถานที่ และสถานการณ์นั้น ๆ เลขานุการจึงต้องเป็นผู้มีไหวพริบ และปฏิภาณที่ดี มีความรอบรู้ และมีความสามารถในการให้ความช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาให้สามารถพลิกสถานการณ์จากวิกฤตให้เป็นโอกาสได้การปฏิบัติงานเลขานุการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่การปฏิบัติงานของเลขานุการ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้น เลขานุการจะต้องคำนึงถึงการเพิ่มผลิตภาพต่องาน และองค์กรด้วยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ComputerTechnology) ซึ่งผู้ที่เป็นเลขานุการควรเลือกใช้ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) ซึ่งนิยมเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) โดยส่วนใหญ่นิยมใช้เนื่องจากความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ได้แก่ คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท็อป (Desktop Computer) คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Notebook) เดสก์โน้ต (Desktop Computer) และแท็บเล็ต พีซี (Tablet PC) ส่วนคอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด พกพาง่าย ซึ่งได้แก่ พีดีเอ (Personal Digital Assistants : PDA) และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) จึงแตกต่างกันที่ระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน โดยได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มประเภทปาล์ม (Palm) และพ็อกเก็ตพีซี (Pocket PC) ซึ่งพีดีเอ ใช้ระบบปฏิบัติการชื่อ Plam OSแต่พ็อกเก็ตพีซีที่คนส่วนใหญ่ใช้คือ ระบบปฏิบัติการของ Microsoft เทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคมช่วยให้เลขานุการทำงานด้วยความรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ พร้อมทั้งช่วยให้เกิดประสิทธิภาพต่องาน และระบบบริการ ซึ่งเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคมที่เลขานุการควรนำมาใช้ได้แก่ โทรศัพท์ (Phone) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่นิยมใช้ในบ้านและสำนักงาน โทรสาร (Fax simile) โทรศัพท์มือถือ (Hand Phone หรือ Mobile Phone) ส่วนระบบที่ใช้ได้แก่ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ปัจจุบันผู้ให้บริการได้พัฒนาระบบสู่การเป็นระบบเครือข่ายความเร็วสูง (Broadband) ที่ทำให้ระบบเครือข่ายเป็นแบบไร้สาย จากเดิมเป็น WLAN : Wireless Local Area Network มาเป็น WiMAX ซึ่งย่อมาจากคำว่า Worldwide interoperability for Microwave Access ที่ช่วยให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกระจาย สามารถครอบคลุมได้ในรัศมี 50 กิโลเมตร และจะขยายเป็นเครือข่ายไร้สายครอบคลุมทั่วในวงกว้างในองค์กรผู้บริหารในระดับต่าง ๆ มีความต้องการในสารสนเทศที่แตกต่างกัน เลขานุการจึงต้องคำนึงถึงคุณค่าของสารสนเทศเพื่อประโยชน์ต่อการสนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้บริหาร ซึ่งสารสนเทศที่ดีจะต้องมีคุณค่า ใน 10 ประการได้แก่ ความเหมาะสม เข้าถึงได้ครบถ้วน ถูกต้องเที่ยงตรง ชัดเจน ทันเวลา ไม่ลำเอียง ไม่ซ้ำซ้อน ตรวจสอบและพิสูจน์ได้ และมีความยืดหยุ่นโดยเลขานุการจะใช้วงล้อคุณภาพของ Deming (PDCA) ในการดำเนินการด้านสารสนเทศเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริหารในแต่ละระดับ ได้แก่ ระดับผู้ปฏิบัติการสารสนเทศที่สนับสนุนการปฏิบัติงานตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และข่าวสารทั่วไปที่เรียกว่า (Operational Level) ระดับหัวหน้างาน จะเสนอสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับความรู้ (Knowledge Level) ระดับผู้จัดการ จะสนับสนุนข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม (Environment) ซึ่งเป็นสารสนเทศระดับการบริหารจัดการ (Management Level) และในระดับผู้บริหาร เลขานุการจะสนับสนุนสารสนเทศในระดับกลยุทธ์ (Strategic Level) เลขานุการมักจะคิดงานสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางด้านความคิดของนักนวัตกร (Innovator) อย่างเลขานุการ ในยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Base Society/Economy : KBS/KBE) โดยเลขานุการต้องพัฒนาตนเองซึ่งในยุคนี้ควรเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ และเป็นช่องทางในการสร้างความสำเร็จให้แก่งานเลขานุการ ซึ่งในหัวข้อนี้ได้แนะนำการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นนวัตกรรมทางความคิดของเลขานุการอย่างแท้จริง โดยเลขานุการสามารถจัดการ และบริหารสู่ความสำเร็จได้ด้วยตนเอง ได้แก่ Blog หรือ Web log ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย โดยเลขานุการสามารถใช้เพื่อการสื่อสารในลักษณะการบันทึกหรือเป็นจดหมายข่าวที่สามารถโต้ตอบกันได้คือ You Tube ที่เหมาะกับการเสนอภาพเคลื่อนไหว และการแพร่ภาพอย่างเสรี จากการพัฒนาการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จนทีวีกลายเป็น IPTV และการใช้ช่องทางการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร ผ่าน My Space ทำให้เกิดการลดต้นทุนในการจัดการงาน ช่วยสนับสนุนต่อความเจริญเติบโตแก่องค์กร และส่งเสริมงานแก่ผู้บังคับบัญชาด้วยความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่สิ้นสุดของนักเลขานุการการสื่อสารของเลขานุการด้วยระบบอินเทอร์เน็ตการสื่อสารของเลขานุการด้วยระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่เลขานุการควรให้ความสำคัญ เพราะจะต้องใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสารสู่เป้าหมาย และเป็นช่องทางที่ช่วยให้เลขานุการสามารถบริหารเวลา บริหารงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงต้องเรียนรู้ถึงอินเทอร์เน็ต และการใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อเป็นอันดับแรก อินเทอร์เน็ต มาจากคำว่า Inter Connection Network ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะใหญ่ที่สุดในโลก ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง ประกอบไปด้วยการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์จำนวนมากผ่านทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งรวมของข่าวสารสาระความรู้ และความบันเทิงต่าง ๆ องค์กรต่างใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการสื่อสารไร้ขีดจำกัด ได้แก่ บริการที่เรียกว่า IM (Instant Messaging) เช่น MSN Messenger, Yahoo! Messaging รวมถึง ICQ (International Connect Quarterly) ที่เป็นต้นแบบของการบริการ IM ดังกล่าว ในลักษณะการส่งข้อความถึงกันแบบทันทีทันใดการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเรียกว่า ISP (Internet Service Provider) ในการเลือกผู้ให้บริการรายใดจึงขึ้นอยู่กับความเร็วของสัญญาณที่เชื่อมต่อ จำนวนเลขหมายของผู้ให้บริการเชื่อมต่อความเร็วของโมเด็มที่รองรับ ราคา และบริการเสริมอื่น ๆ รวมถึงความน่าเชื่อถือของระบบ ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้ดูขั้นตอนได้จากภาพที่ 4.1 และส่วนการยกเลิกการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตต้องพิจารณาดูว่า ไม่ต้องการใช้งานอีกจึงทำการยกเลิกการให้บริการจาก ISP และการสั่งตัดการเชื่อมต่อไปที่ไอคอนการเชื่อมต่อแล้วเลือก Disconnect ส่วนการท่องอินเทอร์เน็ตให้ใช้โปรแกรม Internet Explorer : IE พร้อมกับศึกษารายละเอียดได้จากขั้นตอน ดังภาพที่ 4.6 และ 4.9การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย มี 4 รูปแบบ ซึ่งเลขานุการจะต้องให้ความสำคัญต่อระบบความปลอดภัยของข้อมูล ได้แก่ การอัพเดต การแบ่งโซน การจำกัดการรับคุ้กกี้ และตรวจสอบการเข้ารหัสก่อนที่จะกรอกข้อมูลไปในไซต์ต่าง ๆ การรู้จักอีเมล และการเข้ารหัสลับเพื่อปกป้อง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยความปลอดภัยโดยการเปิดการทำงานของ EPS และทำการเข้ารหัสข้อมูล สามารถถอดรหัสข้อมูลกลับยังสภาพเดิมได้ เลขานุการจึงควรใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อป้องกันข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรจรรยาบรรณในงานอาชีพเลขานุการเลขานุการ เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จึงควรศึกษาข้อมูลการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) ของสมาคมเลขานุการแห่งประเทศไทย โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ให้คำนิยามอาชีพ ลักษณะงานที่ทำ สภาพการจ้างงาน สภาพการทำงาน คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ การเตรียมความพร้อมในงานอาชีพ โอกาสในการมีงานทำโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ และอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งข้อมูลพื้นฐานดังกล่าวจะใช้เป็นแนวทางมาตรฐานวิชาชีพเลขานุการเพื่อสร้างความตระหนักในตนเองเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงของอาชีพเลขานุการ พร้อมทั้งการยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ ที่ก่อให้เกิดจรรยาบรรณในงานอาชีพเลขานุการ และยังประโยชน์ต่อวงการวิชาชีพธรรมาภิบาล ก็เป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชนของประเทศให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข บนพื้นฐานแห่งความถูกต้อง และเป็นธรรม หลักธรรมาภิบาลในประเทศไทยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง (Tum Yum Gung Crisis) จึงมีนักวิชาการแปลคำว่า ธรรมาภิบาล เป็นคำว่า ธรรมรัฐ และต่อมาได้มีการให้ความหมายตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการร่างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ว่า “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” โดยมีหลักการพื้นฐานสำคัญ6 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความสำนึกรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ทั้งนี้ ภาคเอกชนได้นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Good Corporate Governance ซึ่งจะเป็นแนวทางแห่งการสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนจากความเชื่อมั่นจากสังคมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับเลขานุการถือว่าเป็นงานประจำ เพราะความต้องการในความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และการไม่พลาดต่อเหตุการณ์สำคัญที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้บังคับบัญชา และองค์กรทำให้เลขานุการจะต้องตื่นตัวต่อหน้าที่ด้วยกิจนิสัยแห่งคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงานด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เลขานุการควรยึดหลัก 5 ประการ ในการสร้างกิจนิสัยแห่งคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของเลขานุการ ได้แก่1. ความพร้อม2. ความคุ้มค่าและมีคุณค่า3. ความระมัดระวัง4. ความทันสมัย5. ความมีจรรยาบรรณ

ตัวอย่างรายงานการประชุม

รายงานการประชุม
คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.)
ครั้งที่ 1/2550
วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2550
ณ ห้องประชุม 501 อาคารบัญชาการ 1 ชั้น 5 ทำเนียบรัฐบาล



ผู้มาประชุม
1. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธานกรรมการ
2. นายพรชัย อยู่ประยงค์ รองประธานกรรมการ
3. นายภิรมย์ สิมะเสถียร กรรมการ
4. นางขวัญเมือง บวรอัศวกุล กรรมการ
5. นางมาลัย เนียมสวัสดิ์ กรรมการ
6. นายชัยณรงค์ โชไชย กรรมการ
7. นางสันวณี สุวรรณจูฑะ กรรมการ
8. นายสุพรรณ แสงทอง กรรมการ
9. นางแน่งน้อย ฤทธิภักดี กรรมการ
10. นางเกยูร ปริยพฤทธ์ กรรมการ
11. นางปัทมา วีระวานิช กรรมการ
12. นางสาวณัชชา ญาณธิตวัฒนา กรรมการ
13. ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน กรรมการ
14. นายประพัฒน์ วนาพิทักษ์ กรรมการ
15. นายวิเชียร สำเร็จสุข กรรมการ
16. นางสุดา ทองศรี กรรมการ
17. นายจิระพันธ์ กัลลประวิทย์ กรรมการ
18. นางสิศิรักษ์ บุษยรัตน์ กรรมการ
19. ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ กรรมการ
20. นายณัฐพัชร์ อินทุภูติ กรรมการ
21. นายโอฬาร วีรวรรณ กรรมการ
22. ดร.ชิน ชินเศรษฐวงศ์ กรรมการ
/23. นางไพจิตร...
23. นางไพจิตร จารุวัชรวรรณ กรรมการ
24. นายธำรง คุโนปการ กรรมการ
25. นายบรรจง บุญรัตน์ กรรมการ
26. นายสรยุทธ ศิริวรภา กรรมการ
27. นายอุดมศักดิ์ บุพนิมิตร กรรมการ
28. นายสมพงศ์ นครศรี กรรมการ
29. นางสาวสิริมาศ วัฒนะโชติ กรรมการ
30. นางจินตนา ร่มรื่น กรรมการ
31. นายจำเนียร จวงตระกูล กรรมการ
32. นายชุมพล พรประภา กรรมการ
33. นายมนูญ ปุญญกริยากร กรรมการ
34. นายผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา กรรมการ
35. นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ กรรมการและเลขานุการ
36. นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
37. นางมลิวัลย์ วรรณอาภา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ไม่มาประชุม
1. ประธานสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
2. นางอัมพร จุณณานนท์
ผู้เข้าร่วมประชุม
1. ดร.ณัฐรัฐ ธนธิติกร เลขาธิการที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
2. นายเอกราช ญวนมี เจ้าหน้าที่ระดับกลาง (ผู้ติดตามรองนายกรัฐมนตรี)
3. นางวิสุทธินี แสงประดับ คณะทำงานด้านสังคม/สำนักงานรองนายกรัฐมนตรี
4. นางกัญญารักษ์ จิรจินดา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 7ว สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
5. นางสุดา ละเอียดจิตต์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6ว สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
6. นางพันธุ์ทิพา ยุวทองไท นักวิชาการศึกษา 6ว
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
/7. นางสาวกัณสุมา...
7. นางสาวกัณสุมา วิโรจน์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ 7ว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
8. นายศิริพัฒน์ บัวแก้วเกิด เจ้าหน้าที่บริหาร 5 สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
9. ว่าที่ รต.อัครพล รองโสภา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สำนักงานบริหารการศึกษานอกโรงเรียน
10. นางฉวีวรรณ พุ่มคง บุคลากร 7ว สำนักงานบริหารการศึกษานอกโรงเรียน
11. นางสร้อยทิพย์ อุจวาที นักวิชาการศึกษา 8 ว สำนักงานบริหารการศึกษานอกโรงเรียน
12. นายณรงค์ชัย ไชยโชค เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
13. นางพรทิพย์ วัฒนธร นักวิชาการแรงงาน 7ว กรมการจัดหางาน
14. นางสมพร คณากาย นักวิชาการแรงงาน 6ว กรมการจัดหางาน
15. นางสาวสลิสา สวัสดิ์คุ้ม นักวิชาการแรงงาน 5ว กรมการจัดหางาน
16. นางสาวอารียา โรจน์วิถี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
17. นายพานิช จิตร์แจ้ง รักษาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
18. มล. ปุณฑริก สมิติ ผู้อำนวยการกองแผนงานและสารสนเทศ
กรมพัฒนาฝีมือแรงาน
19. นางคนึงนิจ โกศัลวัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานอุตสาหกรรมบริการ
รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
20. นางพนิดา ธนาภรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและทดสอบวิชาชีพควบคุม
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
21. นางวิจิตรา บูรณะวานิช หัวหน้าฝ่ายประสานและบูรณาการนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงาน กองบูรณาการฯ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
22. นางสาวพิมลรัตน์ สายจันทดี กองบูรณาการและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
23. นางศศิกานต์ เสริมเจริญกิจ กองบูรณาการและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
24. นายวุฒิศักดิ์ เสาวภาคย์ กองบูรณาการและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
/25. นางสาวพเยาว์...


25. นางสาวพเยาว์ อินทอง กองบูรณาการและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
26. นางสาวปภิญญา ทองสมจิตร กองบูรณาการและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
27. นางสาวนฤทัย พัฒนาพาณิชย์ กองบูรณาการและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
28. นายเฉลิมพล เนียมสกุล สำนักงานเลขานุการกรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
29. นายสุชัย พงศ์พัฒนาพาณิช สำนักงานเลขานุการกรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
30. นางพิชญางค์ วรภากร สำนักงานเลขานุการกรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เริ่มประชุมเวลา 14.30 น.
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นประธานกล่าวเปิดประชุมคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2550 เวลา 14.30 น. แจ้งที่ประชุมว่าเพิ่งทราบว่ามีคณะกรรมการชุดนี้อยู่ โดยโครงสร้างของรัฐบาลมีการจัดตั้งคณะกรรมการต่างๆ ขึ้นมาโดยให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่นายกรัฐมนตรี มอบหมายเป็นประธาน ข้อดีคือ จะได้ประสานความร่วมมือกันจากหลายๆ ฝ่าย และกล่าวยินดีที่ได้ร่วมทำงานกับกรรมการทุกท่าน และขอให้ประเด็นที่ต้องพิจารณาได้มีการพิจารณาอย่างครบถ้วน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ
2.1 การพัฒนาคนสู่กำลังแรงงาน
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ทำหน้าที่เป็น
เลขานุการ กล่าวรายงานเรื่องเพื่อทราบเพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่คณะทำงาน กพร.ปช. ดังนี้
1. การพัฒนาคนสู่กำลังแรงงาน โดยอธิบายขั้นตอนการพัฒนาคนสู่กำลังแรงงาน ว่ามีหน่วยงานใดที่เกี่ยวข้อง และความเชื่อมโยงกัน ดังนี้
- เริ่มในช่วงอายุของคนตั้งแต่ 2-3 ปีแรก ว่าเป็นช่วงการอบรมเลี้ยงดูโดยพ่อแม่ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูลูกให้เจริญเติบโตทางร่างกาย มีสุขภาพพลานามัย ที่แข็งแรงและสมบูรณ์ โดยมีหน่วยงานราชการหลักที่รับผิดชอบมากที่สุด คือ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
/ หลังจากที่...
- หลังจากที่เข้าสู่เกณฑ์การเรียนแล้วเป็นช่วงที่มีการพัฒนาสติปัญญา กาย ใจ และสังคม โดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก ซึ่งเน้นเรื่อง การเรียนรู้ของคน และการสร้างคนให้แสวงหาแนวทางของชีวิต
- เมื่อพ้นจากระยะการศึกษาขึ้นไป จะเป็นช่วงของการทำงาน ซึ่งอาจเป็นการเข้าสู่การทำงานได้ทุกระดับของการศึกษา อาจเข้าตั้งแต่ช่วงที่เป็นระดับมัธยมศึกษา ระดับ ปวช./ ปวส. ก็สามารถเข้าสู่การทำงาน ซึ่งโดยหลักในการที่จะเข้าไปสู่การทำงานนั้น จะมีการเตรียมความพร้อมของการทำงาน เพื่อให้คนมีศักยภาพในการทำงาน ซึ่งอาจจะมีการพัฒนาเตรียมความพร้อมตั้งแต่อยู่ในชั้นเรียน ถ้ามีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่อยู่ในชั้นเรียนก็จะทำให้สามารถเข้าทำงานได้ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ อาจจะมีบางคนที่รับการเตรียมความพร้อมในช่วงดังกล่าวไม่สมบูรณ์ ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานจะเป็นผู้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเพิ่มเติมให้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่การทำงานแล้ว กำลังแรงงานจะมีการพัฒนายกระดับทักษะฝีมือไปตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบ คือ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้มีการวางแผนที่จะพัฒนายกระดับของคนที่เข้ามาทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
1) ให้คนที่เข้ามาทำงานได้พัฒนาตนเอง และได้รับค่าจ้าง/ค่าตอบแทนที่เป็นไปตามทักษะฝีมือของตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจคนที่ทำงานที่อยากพัฒนาตนเองด้วย
2) ทุกคนที่เข้าไปพัฒนาตนเองแล้ว โดยปกติอยากมีวุฒิการศึกษาเพิ่มเติมขึ้นด้วย ซึ่งขณะนี้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำลังเชื่อมโยงด้านทักษะฝีมือ และประสบการณ์การทำงานต่าง ๆ เพื่อทำให้ได้รับวุฒิการศึกษาโดยที่ไม่ต้องออกจากระบบการทำงานเพื่อไปเข้าห้องเรียน หรือเรียนเพื่อได้รับวุฒิการศึกษาเพียงอย่างเดียว หากสามารถทำ 2 ระบบนี้ได้ ก็จะทำให้การพัฒนาของคนในการทำงานเป็นไปอย่างสมบูรณ์ขึ้น
มติที่ประชุม รับทราบ
2.2 ความเป็นมาในการจัดตั้ง กพร.ปช. และสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ เลขานุการ กล่าวรายงานความเป็นมาของคณะกรรมการ กพร. ปช. และสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้
- คณะกรรมการชุดนี้ ชื่อเต็มว่า คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึก
อาชีพแห่งชาติ ซึ่งเป็นการจัดตั้งขึ้นมาโดยมติของคณะรัฐมนตรี ได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2537 เนื่องจากคณะกรรมการชุดนี้เป็นคณะกรรมการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้ง กรรมการก็จะสิ้นสุดตามไปด้วย ทำให้ต้องมีการเสนอแต่งตั้งขึ้นมาใหม่ทุกครั้งที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ทำให้การดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง การจัดประชุมเมื่อปี 2537 ถึง

/ปัจจุบัน...
ปัจจุบัน มีเพียง 14 ครั้ง ในการประชุมทั้ง 14 ครั้ง ที่ผ่านมามีแนวทางการทำงานที่เป็นประโยชน์อยู่หลายด้าน แต่มีผลการดำเนินงานที่ต่อเนื่องของคณะกรรมการชุดก่อนๆ เมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้มีการอนุมัติให้เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการพัฒนากำลังคน เพื่ออุตสาหกรรมการผลิตและการบริการของประเทศเป็นแผนปฏิบัติการ 5 ปี (ระหว่างปี 2546 - 2549) ซึ่งในแผนแม่บทมี 11 กลยุทธ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนขึ้นอีกฉบับหนึ่ง (ระหว่างปี 2550 - 2554) โดยกระทรวงแรงงานได้ร่วมกับทาง TDRI โดย ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ เป็นผู้ดำเนินการจัดทำแผนนี้
มติที่ประชุม รับทราบ
2.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนของประเทศไทย (TDRI)
ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนของประเทศไทย ดังนี้
1. กล่าวความเป็นมาของแผนพัฒนากำลังคนของประเทศว่าได้จัดทำแผนขึ้น 2 แผน คือ
1.1 แผนของกระทรวงแรงงาน 2) แผนแม่บทด้านแรงงาน โดยการนำเสนอครั้งนี้จะเน้นด้านแรงงานของกระทรวงแรงงาน โดยจะผนวก 2 แผนเข้าด้วยกัน 1.2 คณะกรรมการรับทราบถึงสถานการณ์ด้านแรงงาน 2) เพื่อเป็นข้อมูลให้กพร.ปช. ตัดสินใจว่าควรมีบทบาทในการขับเคลื่อนการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ โดยนำเสนอ จำนวน 4 หัวข้อ ดังนี้
1. ปัญหาด้านแรงงาน
1.1 ปัญหาก่อนวัยแรงงาน (การศึกษา)
1.1.1 การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ประเทศไทยมีการขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 12 ปี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการศึกษา เด็กเกือบทุกคนมีโอกาสเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นคือมีความแตกต่างกันอย่างมากในจำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาระหว่างกลุ่มประชากรที่ยากจนและกลุ่มที่ร่ำรวย
- คุณภาพของการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา มีนักเรียนจำนวนมากทำคะแนนได้ในระดับต่ำกว่าระดับความสามารถที่ยอมรับได้
- มีกำลังคนระดับนี้เข้าตลาดแรงงานน้อยลงในปัจจุบันและอนาคต
1.1.2 กำลังคนของประเทศไทยในระดับอาชีวศึกษาที่มีวุฒิต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา มีปัญหาเชิงคุณภาพ มีการผลิตที่ขาดเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะตอบสนองความต้องการของประเทศในด้านใด

/การเรียน...
- การเรียนการสอนเน้นปริมาณ ผู้เข้าเรียนและจบการศึกษา มากกว่าที่จะเน้นขีดความสามารถในด้านปฏิบัติในระดับเทคโนโลยีต่างๆ
- เมื่อจัดสอนเป็นวิทยอาชีพ ครูจึงไม่ต้องการผู้ที่มีประสบการณ์จริงและขาดทักษะและประสบการณ์ในอาชีพนั้นๆ
- การเรียนการสอนในระดับสายอาชีพ ยังอยู่ในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถตามเทคโนโลยีที่ใช้ในอุตสาหกรรมได้ทัน การเรียนในสายอาชีพ ยังขาดการประเมินผลในเชิงคุณภาพ
- ขาดแรงจูงใจให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างจริงจัง Dual System ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
1.1.3 การศึกษาในระดับอุดมศึกษา บางส่วนยังเน้นการผลิตบุคลากรตามแนวความคิดอุดมศึกษาของตะวันตก โดยมิได้วิเคราะห์ และยังไม่ได้ใช้ปัจจัยด้านการจ้างงาน (ตลาด) เป็นตัวชี้นำการผลิตอย่างแท้จริง
- คุณภาพของสถาบันการศึกษาและบัณฑิตยังไม่ได้มาตรฐานสากล
- ขาดระบบการบริหารจัดการศึกษาของแต่ละสถาบันที่ดี
- ขาดเป้าหมายการพัฒนา “กำลังคน” ของชาติโดยรวม
- ขาดความเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ หรือสถานประกอบการ
- การศึกษามิได้สร้างโอกาสการจ้างงานให้ (Employability) นักศึกษาจึงขาดเป้าหมายและความกระตือรือร้นที่จะศึกษาและฝึกปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาตนเอง เพราะเมื่อจบไปไม่ทราบว่าจะมีงานทำหรือไม่ ซึ่งถ้ามีก็ไม่ทราบว่าจะตรงกับวิชาชีพที่เรียนหรือไม่
1.1.4 สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ยังมิได้มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตตามความถนัดและขีดความสามารถหรือความเป็นเลิศของสถาบัน และมีส่วนสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความเจริญ
1.1.5 กำลังคนด้าน S&T จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตการสนับสนุนผู้มีศักยภาพในการเป็นกำลังคนด้าน S&T จะต้องเร่งจัดทำโดยเร่งด่วน โดยเน้นคุณภาพเป็นสำคัญ
1.2 ปัญหาวัยแรงงาน:ปัญหาการฝึกอบรม
1.2.1 ยังไม่มีการประสานแบ่งงานอย่างเป็นรูปธรรม ระหว่างหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาและฝึกอบรมระยะสั้นและระยะยาวทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก
1.2.2 การฝึกอบรมโดยเฉพาะในระดับฝีมือแรงงาน ยังยึดเป้าหมายเชิงปริมาณมากกว่าที่จะยึดเป้าหมายเชิงคุณภาพ นอกจากนั้น ยังขาดการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ

/3. การพิจารณา...
3. การพิจารณาบังคับใช้กฎหมายยังอ่อนแอเพื่อให้สถานประกอบการต้องฝึกอบรมให้กับพนักงาน ถึงแม้จะมีมาตรการที่จูงใจให้สถานประกอบการได้ดำเนินการพัฒนากำลังคนของตัวเองอย่างต่อเนื่องก็ตาม
4. กพร.-ปช. ซึ่งมีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สังกัดกระทรวงแรงงานเป็นฝ่ายเลขานุการ ยังมีรูปแบบบริหารไม่ต่อเนื่อง
5. กรอ.-พอ.(เดิม) เป็นรูปแบบของคณะกรรมการพัฒนาอาชีพ แต่มีแกนอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนในการประสานกับ กพร.ปช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. ยังไม่สามารถส่งเสริมให้ภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการฝึกอบรมในทุกๆ ด้านอย่างเป็นรูปธรรม
7. การฝึกอบรมในระดับกลางและระดับสูง (ฝึกอบรมเฉพาะทาง) ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
8. การฝึกอบรม ยังติดกับระบบราชการ ซึ่งมีผลให้ไม่สามารถสร้างแรงจูงใจที่มากพอที่จะดึงดูดครูฝึกที่เก่งเข้ามาทำงานมากขึ้น หรือรักษาครูฝึกที่ดีไว้ในระบบราชการได้
9. ยังขาดระบบข้อมูลตลาดแรงงานที่สมบูรณ์รวดเร็ว ทันสมัย โดยเฉพาะเพื่อประกอบการแนะแนวอาชีพในทุกระดับ
1.3 ปัญหาการเตรียมเป็นผู้ประกอบการ
1.3.1 วิถีชีวิตของคนไทย รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของไทย มิได้ปลูกฝังจิตสำนึก และประสบการณ์ต่อการทำธุรกิจ ค้าขาย หรือประกอบอาชีพอิสระ ให้แก่เยาวชนคนไทย
1.3.2 ระบบการพัฒนากำลังคนของเราทั้งระบบการศึกษาก็ดี หรือระบบฝึกอบรมก็ดี มุ่งพัฒนาคนเพื่อเป็นลูกจ้างแทบทั้งสิ้น
2. สถานการณ์ตลาดแรงงานและปัญหาด้านแรงงานของกลุ่มเป้าหมาย
2.1 ปัญหาของกำลังแรงงานของไทย
2.1.1 การขยายตัวเชิงปริมาณช้าลง จำนวนประชากรวัยทำงาน (15-19 ปี) ลดลง
2.1.2 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น จาก 2.8 ล้านคนปี 2550 เป็น 3.7 ล้านคนในปี 2554
3. จำนวนประชากรมีการศึกษาระดับ ม.ต้น หรือต่ำกว่า ยังเพิ่มอยู่ปีละ 4 แสนคน จาก 28.1 ล้านคน ในปี 2550 เป็น 30.1 ล้านคนในปี 2554

/2.2 ปัญหา…
2.2 ปัญหาของแรงงานในระบบ
2.2.1 ลูกจ้างมีอำนาจต่อรองต่ำ ยังได้รับสวัสดิการต่ำกว่าลูกจ้างภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ
2.2.2 บทบาทลูกจ้างในระบบไตรภาคีไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร
2.2.3 ค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ สถานประกอบการอีกเป็นจำนวนมากไม่มีระบบโครงสร้างค่าจ้าง / เงินเดือน
2.2.4 ยังมีปัญหาด้านสวัสดิการ ด้านสุขภาพ และความปลอดภัย
5. ยังมีคนว่างงานอยู่ 3-4 แสนคนทุกปี
2.3 ปัญหากองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน
2.3.1 ควรใช้เงินกองทุนให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้
2.3.2 ควรขยายวงเงินในการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น
2.4 ปัญหาแรงงานนอกระบบ
งานวิจัยของ ILO / ม.ธรรมศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าแรงงานนอกระบบไม่ต่ำกว่า 22 ล้านคน เผชิญปัญหาหลายด้าน ได้แก่
2.4.1 ขาดความมั่นคงในตลาดแรงงาน
2.4.2 ขาดความมั่นคงในการจ้างงาน
2.4.3 ขาดความมั่นคงในงาน (อาชีพ)
2.4.4 ขาดความปลอดภัยในงาน
2.4.5 ขาดความมั่นคงในการเสริมทักษะ
2.4.6 ขาดความมั่นคงในรายได้
2.4.7 ขาดความมั่นคงในการมีผู้แทน
2.5 ปัญหาองค์การนายจ้างและองค์การลูกจ้างยังมีน้อยมาก
2.6 ปัญหากลุ่มแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ
2.6.1 ยังมีปัญหาในการจัดส่ง เช่น ถูกหลอก ทำงานไม่ตรงตามเงื่อนไขสัญญา
2.6.2 ค่าตอบแทนน้อยกว่าที่เคยให้คำสัญญาไว้ (นายจ้างเอาเปรียบ)
2.6.3 ค่านายหน้าสูงมาก (นอกระบบ)
2.6.4 ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ / สวัสดิการเท่าที่ควร
2.6.5 ปัญหาด้านภาษา / วัฒนธรรม
2.6.6 ปัญหาหลังเดินทางกลับ (งานที่มีไม่สมศักดิ์ศรี)
2.7 ปัญหากลุ่มแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย
/2.7.1 ยังไม่...
2.7.1 ยังไม่สามารถลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวได้
2.7.2 ยังมีแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองยังไม่เข้าระบบอีกกว่าล้านคน
2.7.3 การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ
2.7.4 นายจ้างเห็นแก่ตัวไม่ปรับสภาพแวดล้อมและค่าตอบแทน
2.7.5 ยังไม่มีการรับจดทะเบียนระหว่างปี (ไม่ยืดหยุ่น)
2.7.6 ยังไม่สามารถนำเข้าแรงงานได้เร็วเท่าที่ต้องการ
2.7.7 แรงงานต่างด้าวจำนวนมากยังไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่กฎหมายกำหนด
2.7.8 ยังมีปัญหาผู้ติดตาม(สามีหรือภรรยา บิดา มารดา บุตร)
2.7.9 ยังมีปัญหาผลกระทบด้านสังคม และสาธารณสุข
2.8 ปัญหาผู้ด้อยโอกาส : กลุ่มผู้สูงอายุ
2.8.1 ปัญหาผู้ด้อยโอกาส : กลุ่มผู้พิการ
มีผู้พิการถึง 1.0 ล้านคน กระจายอยู่ทุกภาคมีสถานภาพเป็นลูกจ้างเพียงร้อยละ 20.6 ส่วนใหญ่มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
2.8.1.1 ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลถึงร้อยละ 94 และต้องการความช่วยเหลือในเรื่องการรักษา / ผ่าตัด / กายภาพบำบัด ถึงร้อยละ 41
2.8.1.2 ต้องการหางานทำ และ/หรือหารายได้ถึงร้อยละ 29.7
2. 8. 1.3 การบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. การฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ
2.8.2 กลุ่มผู้สูงอายุในปี 2548 มี 6.7 ล้านคน จะเพิ่มเป็น 8.1 ล้านคนในปี 2554
2.8.2.1 ยังมีความต้องการด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 35.8 เนื่องจากมีรายได้ไม่พอใช้จ่าย
2.8.2.2 ผู้สูงอายุมีบทบาททางสังคมลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
2.8.2.3 ยังมีผู้สูงอายุที่ต้องการทำงานถึงร้อยละ 38.5
2.8.2.4 ยังมีผู้สูงอายุร้อยละ 81.7 ที่ยังทำงานได้แต่ไม่ค่อยมีงานตามอัธยาศัยให้ทำ
2.9 ปัญหากลุ่มผู้ประสบภาวะวิกฤติและภัยธรรมชาติ
2.9.1 แรงงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.9.1.1 มีการเคลื่อนย้ายของแรงงานออกนอกพื้นที่น้อยมาก
/ 2.9.1.2 มีวัยรุ่น...
2.9.1.2 มีวัยรุ่นว่างงานจำนวนมาก
2.9.1.3 ตลาดงานที่เป็นทางการมีจำกัด
2.9.1.4 ความรู้ความสามารถไม่สอดคล้องกับตลาด
2.9.2 ผู้ว่างงานจากวิกฤติค่าเงินบาท
2.9.2.1 ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงและไม่สามารถปรับตัวกับภาวะการแข่งขันได้ เพื่อเข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
2.9.2.2 ผู้ประสบภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง ไข้หวัดนก ฯลฯ
2.9.2.3 เป็นภัยที่ไม่ทราบล่วงหน้า ต้องเตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือไปตามสภาวะ
2.9.2.4 ต้องการความช่วยเหลือด้านการแนะแนวในการสร้างรายได้และมีความต้องการในการเปลี่ยนอาชีพ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10
แนวทางการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ในระยะ 5 ปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนใน 3 มิติ คือ
1. พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกันพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงและก้าวสู่สังคมฐานความรู้
2. เสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจที่ดี มีความสัมพันธ์ทางสังคมและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่
3. เสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข
การพัฒนาสมรรถนะและทักษะแรงงานให้รองรับการแข่งขันของประเทศ โดย
1. เพิ่มพูนความรู้และทักษะพื้นฐานในการทำงาน ทั้งการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ แก้ปัญหา ตัดสินใจ ทำงานเป็นทีม และมีจริยธรรม โดย
1.1 เพิ่มความรู้ด้านทักษะพื้นฐานไว้ในทุกหลักสูตรการฝึกอบรมแรงงาน
1.2 พัฒนากำลังคนให้มีวินัยในการทำงาน มีความซื่อสัตย์ มุ่งผลสำเร็จของงาน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
2. เสริมสร้างการจัดระบบการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพทั้งในด้านความรู้ ความสามารถและทักษะที่สอดคล้องกับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และมีการส่งต่ออย่างเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปสู่ระดับวิชาอาชีพ โดย

/2.1 เสริมสร้าง…
2.1 เสริมสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชนทุกระดับในการพัฒนาสมรรถนะแรงงาน โดยจัดหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นที่หลากหลาย
2.2 ผลักดันองค์กรต่างๆ ในสังคม เช่น องค์กรชุมชน สถานประกอบการ สถาบันการแพทย์ สถานสงเคราะห์ เป็นต้น ให้จัดการศึกษาในรูป
“ศูนย์การเรียน” ที่มุ่งจัดการเรียนขั้นพื้นฐานและวิชาการด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. เร่งรัดการจัดทำระบบคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาที่เป็นความต้องการและนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง
4. จัดทำข้อมูล ข่าวสารและความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานและความก้าวหน้าในวิชาชีพในทุกอาชีพเผยแพร่ผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ
นโยบายของรัฐบาล ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือการใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาในด้านการพัฒนาคนมีนโยบายหลักดังนี้
1. การพัฒนาคุณภาพและฝีมือแรงงานในระดับต่างๆ เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ตลอดจนส่งเสริมให้แรงงานทุกกลุ่มมีงานทำ โดยสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชน และภาครัฐ
2. การจัดสวัสดิการสงเคราะห์และบริการทางสังคมที่จำเป็นอย่างทั่วถึง โดยการดูแลโอกาสในการเรียนรู้ การศึกษา และการฝึกอาชีพ ให้กับแรงงานระดับฐานรากและลูกหลาน
3. การสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ยึดมั่นคงความซื่อสัตย์ สุจริต คุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และวางรากฐานการทำงานอย่างเป็นระบบที่ดี
4. การจัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา เพื่อเร่งรัดให้มีการสร้างปัญญาในสังคม เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อสร้างความสามารถของประเทศอย่างยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันสร้างวัฒนธรรม
5. การปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ โดยการเร่งรัดขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง คำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ การพัฒนาคนใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานและเชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา
6. การจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่ สถานศึกษาและท้องถิ่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคเอกชน เพื่อให้การศึกษาสร้างคนและสร้างความรู้สู่สังคมคุณธรรม คุณภาพ สมรรถภาพ และประสิทธิภาพ

/7. การคุ้มครอง…
7. การคุ้มครองและดูแลด้านสุขอนามัยให้กับแรงงานฐานราก มีความปลอดภัยในการทำงาน มีหลักประกันความมั่นคง และจัดให้มีสวัสดิการแรงงานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ดร.ชุมพล พรประภา ผู้ทรงคุณวุฒิ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า
1. คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนากำลังคนของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฐานะที่จะเป็นศูนย์กลาง การรวบรวมกำลังแรงงานทั้งหมด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ทันการตรงต่อเวลาและสม่ำเสมอ
2. คณะกรรมการชุดนี้ควรมีวาระประจำประมาณ 3-4 ปี มีการกำหนดการประชุมอย่างต่ำที่สุด 6 ครั้ง/ปี และถ้ามีความจำเป็น อาจจะถึง 12 ครั้ง และควรมีการประชุมค่อนข้างถี่ในระยะแรกจนกว่าจะเข้ารูป
3. หน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ คือ รวบรวมตัวเลขต่างๆ จากทุกหน่วยงานราชการในด้านกำลังแรงงานที่ทันสมัย เช่น กรมอาชีวศึกษาเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย รวมทั้งขอความร่วมมือให้ทุกหน่วยงานจัดทำข้อมูลด้าน IT ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยกฎหมายแล้วสภาการศึกษาแห่งชาติมีหน้าที่ที่จะต้อง รวบรวมข้อมูลเหล่านี้ แต่ก็ทำไม่สำเร็จ เนื่องจากข้อมูลมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งจึงขอให้สภาการศึกษาแห่งชาติ ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
4. การศึกษาของไทยเน้นแต่เชิงการขยายตัว ยังไม่มีจุดสิ้นสุด ซึ่งถึงเวลาแล้วที่ควรให้ความสำคัญด้านคุณภาพ นอกจากนี้ปัจจุบันยังไม่มีความแน่นอนสำหรับการศึกษาต่อเนื่องทั้งในระบบ นอกระบบ และอาชีพต่างๆ
5. ขอให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงแรงงาน ดูแลเรื่องกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสารสนเทศ รวมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้ความร่วมมือกันและรับผิดชอบอย่างจริงจัง
6. เนื่องจากคณะกรรมการชุดนี้เปลี่ยนทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล ทำให้ไม่มีความต่อเนื่อง จึงขอให้รัฐบาลชุดนี้กำหนดนโยบายให้กรรมการชุดนี้มีอายุ 3 หรือ 4 ปี ก็จะเป็นประโยชน์ยิ่งในการดำเนินงาน
7. คณะกรรมการชุดนี้ จะต้องยกระดับความรู้และความสามารถอย่างรวดเร็ว โดยสรุป คณะกรรมการชุดนี้มีความจำเป็นและขอให้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกหน่วยงานจะให้การสนับสนุนส่งข้อมูลต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการช่วยชาติ ช่วยงานของรัฐบาล ราชการ และประชาชน ต่อไป


/ดร. จำเนียร...
ดร. จำเนียร จวงตระกูล ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวเสนอประเด็น 3 ข้อ ดังนี้
1. การสร้างนักวิจัย และการขยายเพิ่มเติมจำนวนนักวิจัยอย่างเร่งด่วน โดยพบว่า เป้าหมาย คือการสร้างนักวิจัย แต่หลักสูตรการเรียนการสอนปริญญาเอกของไทย มีการสอนวิจัยเพียง 3 หน่วยกิต บางแห่งสอนวิจัย จำนวน 9-11 หน่วยกิตเท่านั้น และควรลดการทำวิจัยเชิงปริมาณ แล้วมาเน้นที่การวิจัยเชิงคุณภาพเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความรู้ สร้างนวัตกรรม การให้ทุนการวิจัยและการส่งเสริมการวิจัย
2. เรื่อง I&D (Identity Development) เช่น ถ้าทำวิจัย 6,000 ตำบล ก็เป็นการสร้างความรู้ และทฤษฎีขึ้นมา ซึ่งสามารถเอามาใช้เป็นฐานในการเรียนรู้ในการแข่งขันกับต่างประเทศได้
3. เรื่อง R&D (Research & Development) เป็นเรื่องที่มีการพูดกันมานานแล้วแต่ยังไม่สามารถดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้ ดังนั้น จึงเห็นควรเรียนรู้จากตะวันตก แล้วนำมาพัฒนาให้เหมาะสมกับประเทศไทย ก็คือ C&D (copy and development)
นายสมพงษ์ นครศรี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า
ในฐานะที่เกี่ยวข้องกับแรงงานที่ใช้อยู่ในโรงงานปัจจุบันนี้ พบว่าส่วนใหญ่แรงงานที่ว่าจ้างเข้ามานั้นไม่เคยได้รับการเรียนรู้ ด้านอาชีวศึกษา หรือการพัฒนาฝีมือแรงงาน จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานก็มาจากต่างจังหวัดและรับเข้ามาทำงาน เราจะพัฒนาแรงงานเหล่านี้ได้อย่างไร และยังเสนอว่าประเทศไทยควรมีใบรับรองการประกอบอาชีพ เหมือนประเทศอื่นๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เป็นต้น จึงสามารถเข้าทำงานได้
ประธาน เห็นว่าข้อเสนอแนะมีประโยชน์มากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะได้ร่วมกันผลักดันดำเนินการได้
เลขานุการ กล่าวว่า เรื่องใบรับรองฯ ซึ่งตาม พรบ. ส่งเสริมการประกอบอาชีพ กฎหมายได้กำหนดให้ออกใบรับรองได้ในบางสาขาอาชีพที่มีผลต่อผู้บริโภค และมีข้อเสนอจากท่านชุมพลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ มี 3 ข้อ
1. ให้มีการตั้งเป็นคณะกรรมการประจำ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง
2. ให้มีการจัดการข้อมูลด้านความต้องการแรงงาน (Demand) และการจัดการข้อมูลด้านการผลิตกำลังแรงงาน (Supply) ในตลาดแรงงาน
3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันปฏิบัติงาน เพื่อบรรลุเป้าหมาย
มติที่ประชุม รับทราบ

/ประธาน…
ประธาน เสนอว่าวาระที่ 3 ซึ่งแบ่งเป็น 3.1, 3.2 และ 3.3 ขอให้พูดพร้อมกันเลย
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
เลขานุการ แจ้งว่าควรให้มีแนวทางขบวนการและกลไกมาจัดการเพื่อให้มีข้อมูลที่ทันสมัยครบถ้วน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลแก่ทุกหน่วยงาน โดยดำเนินการดังนี้
3.1 การบริหารข้อมูล เพื่อให้กพร.ปช. เป็นศูนย์กลางข้อมูลความต้องการกำลังแรงงานของประเทศ
3.2 ให้ กพร.ปช. เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการพัฒนากำลังแรงงานเพื่อสนองตอบความต้องการแรงงานของประเทศ
3.3 โครงสร้างการทำงาน จัดตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ กพร.ปช. จำนวน 2 คณะได้แก่
1. คณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด(กพร.ปจ.) เป็นโครงสร้างของคณะทำงานระดับพื้นที่ หรือจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ มีผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน และจากภาคเอกชน 2 ท่าน ร่วมเป็นอนุกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค/ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ รวบรวมข้อมูลส่ง กพร.ปช.เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป
2. จัดตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการวางแผนการพัฒนากำลังคนในระดับชาติ โดยมีท่านชุมพล พรประภา เป็นประธานอนุกรรมการ
ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
วาระที่ 3.3.1 ควรครอบคลุมถึงผู้แทนในส่วนของ Demand และ Supply ในจังหวัดด้วย พร้อมทั้ง กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งผลิตกำลังคน ด้านแพทย์ พยาบาล ซึ่งเป็นการศึกษาเฉพาะทาง ตามมาตราที่ 21 ของพรบ.การศึกษาแห่งชาติ
ประธาน เห็นว่าควรให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเลือกเองดีกว่า
นางปัทมา วีระวานิช สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หน่วยงานของอาชีวะในระดับจังหวัดให้ใช้ว่า อาชีวศึกษาจังหวัด ในทุกคำสั่ง
นายอุดมศักดิ์ บุพนิมิต สภาองค์การลูกจ้างองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย
ให้ความเห็นว่าปัจจุบันแรงงานยังขาดความปลอดภัย ขาดคุณภาพชีวิตและความมั่นคง จากวิสัยทัศน์ที่ร่างมา อยากให้เป็นจริงและทำได้ต่อเนื่อง นายจ้างมักจะบ่นเรื่องแรงงานขาดคุณภาพ พัฒนายาก เนื่องจากอายุมากแล้ว ไม่คุ้มทุน
/เลขานุการ...
เลขานุการ สรุปวาระที่ 3.3
- ให้ทุกส่วนราชการ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค จัดเก็บรวบรวมข้อมูลให้เลขานุการฯ
- จัดตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 คณะ ได้แก่
1. คณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.)
2. คณะอนุกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนการพัฒนากำลังคนในระดับชาติ
มติที่ประชุม เห็นชอบ และมีการเสนอประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเป็นอนุกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนการพัฒนากำลังคนในระดับชาติด้วย
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ
ที่ประชุมมีความเห็นว่า ทำอย่างไรจะให้คณะกรรมการฯ สามารถทำงาน ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง มีความมั่นคง ซึ่งรองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เสนอให้ออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ร่างระเบียบให้ประธานกลั่นกรองแล้ว นำเข้า ครม. ให้ความเห็นชอบ
ดร.จำเนียร จวงตระกูล ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นด้วย
นางปัทมา วีระวานิช สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แจ้งว่า กรมอาชีวะได้มีการรวบรวมเก็บข้อมูลของนักศึกษา และผู้จบการศึกษาจากอาชีวะทั่วประเทศโดยยังแยกเป็นจังหวัด สถานศึกษา และสาขาวิชา ซึ่งสามารถค้นหาได้จาก VEC-Net
ประธาน แต่ละหน่วยงานมีทิศทาง นโยบายในการทำงานอยู่แล้ว ให้ไปทำมา นัดประชุมครั้งต่อไป ในวันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2550 เวลา 13.30 น.
มติที่ประชุม รับทราบ
ปิดประชุมเวลา 16.30 น.





นางศศิกานต์ เสริมเจริญกิจ
นายวุฒิศักดิ์ เสาวภาคย์
ผู้บันทึกรายงานการประชุม



นางมลิวัลย์ วรรณอาภา
ผู้ตรวจรายงานการประชุม